งานฟุตบอลประเพณี ราชภัฏฯ–ราชมงคลอีสาน
งานฟุตบอลประเพณี
ราชภัฏฯ–ราชมงคลอีสาน | |
Rajabhat–Rajamangala Traditional Football Match | |
ราชภัฏนครราชสีมา | เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน |
ข้อมูลทั่วไป | |
แข่งขันนัดแรก | พ.ศ. 2500 |
สนามแข่งขันนัดแรก | ราชมงคลอีสาน |
เจ้าภาพครั้งแรก | ราชมงคลอีสาน |
เจ้าภาพครั้งล่าสุด | ราชภัฏนครราชสีมา |
ชนะติดต่อกันมากที่สุด | ราชมงคลอีสาน 7 ครั้ง (ครั้งที่ 6 - 12) |
สนามแข่งขันประจำ | สนามกีฬากลางค่ายสุรนารี |
รางวัล | โล่พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว |
ช่องทางรับชม | - |
สัญลักษณ์ประจำทีม
ราชภัฏฯ |
พระราชลัญจกร |
สัญลักษณ์ประจำทีม
ราชมงคลอีสาน |
พระมหาพิชัยมงกุฎ |
จำนวนครั้งที่ชนะ | |
ราชภัฏนครราชสีมา | เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน |
8* | 10* |
จำนวนครั้งที่เสมอ | |
9* | |
ช่องทางรับข่าวสาร | |
เฟซบุ๊กฟุตบอลประเพณีราชภัฏฯ–ราชมงคลอีสาน | |
- |
งานฟุตบอลประเพณี ราชภัฏนครราชสีมา - เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน หรือ ศึกสองราช[1] เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา สร้างความสัมพันธ์ระหว่าง 2 สถาบัน การแข่งขันฟุตบอลระหว่าง 2 สถาบันจัดมามากกว่า 50 ปีแล้ว นอกจากการแข่งขันฟุตบอล ยังมีขบวนพาเหรด การตกแต่งสแตนเชียร์ และเชียร์ลีดเดอร์ และเพลงพี่น้องสองราช เป็นประจำการแข่งขัน [2][3]
ประวัติ
[แก้]นับตั้งแต่อดีต การแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างวิทยาลัยครูนครราชสีมาและวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2500 โดยการริเริ่มของอาจารย์เตรียม ทิพวงศา และอาจารย์ สุวัฒน์ พินิจพงศ์ ในครั้งแรกๆนั้น ได้จัดแข่งขันฟุตบอลระหว่างอาจารย์ของวิทยาลัยครูและวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ความมุ่งหมายในขณะนั้นก็เพื่อเป็นการแข่งระหว่างคณาจารย์ของทั้งสองสถาบันซึ่งในอดีตนั้นตั้งบนท้องทุ่งตะโกราย ซึ่งไม่มีรั้วรอบขอบกั้นเช่นสมัยนี้ การแข่งขันในปีนั้นประสบความสำเร็จ คณาจารย์และผู้อำนวนการของทั้งสองสถาบันในสมัยนั้นจึงมีแนวคิดที่จะเชื่อมความสัมพันธ์ของนักศึกษาทั้งสองสถาบันให้เป็นหนึ่งเดียว จึงริเริ่มให้มีการจัดเป็นประจำทุกปี แต่ให้ปรับเปลี่ยนจากการแข่งขันฟุตบอลของคณาจารย์มาเป็นการแข่งขันของนักศึกษาแทน โดยมีการจัดครั้งแรกในปี 2501 การแข่งขันปรากฏว่าวิทยาลัยครูนครราชสีมาชนะวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ ผลการการแข่งขันเป็นที่น่าพึงพอใจมาก ผู้ที่เป็นเจ้าภาพจะเลี้ยงอาหารให้กับอีกสถาบันในช่วงเย็น ทั้งสองสถาบันจึงได้ตกลงให้มีการจัดเป็นประจำทุกปี โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพ และเพื่อความเป็นสิริมงคลของทั้งสองสถาบัน พ.ศ. 2502 จึงได้ร่วมกันขอโล่พระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[4] นับเป็นสิริมงคลอย่างต่อทั้งสองสถาบัน เพราะเป็นการพระราชทานโล่รางวัลแก่ทั้งสองมหาวิทยาลัยเป็นแห่งแรกในภูมิภาค[5] มีการบันทึกไว้ว่าการได้รับเกียรติยศ ในการได้รับพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลประเพณีที่เก่าแก่นั้น มีเพียง 4 สถาบันเท่านั้น ในประเทศไทย นั่นคือ ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ และ งานฟุตบอลประเพณีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สถานที่จัดการแข่งขัน
[แก้]- พ.ศ. 2500 ใช้สนามวิทยาลัยเทคนิค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา (ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ปัจจุบัน)
- พ.ศ. 2502 เป็นปีที่ได้รับพระราชทานโล่ ฯ จึงได้ย้ายมาแข่งขันที่ สนามกีฬาหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา
- ประมาณ พ.ศ. 2520 ได้มีการย้ายไปจัดการแข่งที่สนามกีฬาของทั้งสองสถาบัน สลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในระยะหนึ่ง (อันเนื่องมาจากสนามฟุตบอลหน้าศาลากลางจังหวัดได้ถูกปรับปรุงให้เป็นลานคนเมือง)
- ประมาณ พ.ศ. 2530 มีการย้ายไปจัดการแข่งขันที่ สนามกีฬากลางค่ายสุรนารี
- พ.ศ. 2549 สนามกีฬากลางค่ายสุรนารี ทรุดโทรมลงตามระยะเวลาในการใช้งาน จึงได้ย้ายไปจัดการแข่งขันที่ สนามกีฬากลางเทศบาลนครนครราชสีมา
- พ.ศ. 2550 งดจัดการแข่งขัน เนื่องจากมหกรรมกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24
- พ.ศ. 2551 จัดการแข่งขันที่สนามกีฬากลางเทศบาลนครนครราชสีมา อีกครั้ง
- พ.ศ. 2553 เนื่องจากเหตุการอุทกภัยใหญ่ ของจังหวัดนครราชสีมา ส่งผลให้สนามกีฬาเทศบาลฯ ชำรุดไม่สามารถใช้จัดกิจกรรมใดๆ ได้ และด้วยคณะกรรมการนักศึกษา ในสมัยนั้นได้เล็งเห็นถึงความไม่ยิ่งใหญ่ของสนามที่ใช้ในการแข่งขัน รวมถึงการเดินทางเข้าไปสนามนั้นอยู่ในมุมอับเกินไป จึงได้สำรวจสนามแข่งขันในจังหวัดและคัดเลือกคือ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (สนามกีฬาที่ใช้จัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์) และสนามกีฬาค่ายสุรนารี และได้ตัดสินสินใจเลือกสนามกีฬากลางค่ายสุรนารี เป็นสนามหลักในการแข่งขัน ซึ่งสนามกีฬาแห่งนี้ได้มีการปรับปรุงและเสริมความแข็งแรงของอัฒจรรย์ เพื่อใช้รองรับกองเชียร์ของสองสถาบัน หัวใจหลักของการแข่งขันนั่นเอง
- พ.ศ 2562 หรือการแข่งขันครั้งที่ 51 ใช้สนามกีฬากลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นสนามแข่งขัน
- พ.ศ 2563 หรือการแข่งขันครั้งที่ 52 ใช้สนามกีฬากลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นสนามแข่งขัน
- พ.ศ 2566 หรือการแข่งขันครั้งที่ 53 ใช้สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นสนามแข่งขัน
เพลงประจำการแข่งขัน
[แก้]“ พี่น้องสองราช” เพลงพี่น้องสองราช เป็นเพลงที่ถูกแต่งขึ้นเพื่อใช้ในการแข่งขันฟุตบอลประเพณีชิงโล่พระราชทานฯ ของราชภัฏ-ราชมงคล ซึ่งแต่งโดยอาจารย์สาขาวิชาดนตรี ม.ราชภัฏนครราชสีมา ใช้เป็นเพลงที่ร้องร่วมกันทั้งเปิดการแข่งขันและปิดการแข่งขัน
ตราสัญลักษณ์การแข่งขัน
[แก้]ในอดีต มีการออกแบบตราสัญลักษณ์ขึ้นมาใช้เป็นประจำทุกๆ ปีแตกต่างกันไป ซึ่งการออกแบบตราสัญลักษณ์นั้นจะคัดเลือกนักศึกษาหรือคณาจารย์ของแต่ละมหาวิทยาลัยมาร่วมกันออกแบบ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2553 เป็นการแข่งขัน ครั้งที่ 43 มีสรุปกันให้มีการออกแบบสัญลักษณ์ฟุตบอลประเพณี ที่เป็นมาตรฐานและให้ใช้เป็นสัญลักษณ์ ถาวร
ความหมาย คบเพลิง ที่ถูกจุดขึ้นล้อมรอบลูกฟุตบอลอันสื่อถึงมิตรภาพและความสามัคคีของสถาบันทั้งสองที่ได้ร่วมกันก่อกำเนิดการแข่งขันกีฬาฟุตบอลประเพณีของทั้งสองสถาบัน เหนือสิ่งอื่นใดยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงพระราชทานโล่รางวัลเป็นมิ่งขวัญมงคลสืบมา ทั้งสองสีนั้นแทนสัญลักษณ์ของสองสถาบันอันได้แก่
สีแสด แทน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ซึ่งรังสรรค์เป็นรูปดอกแคแสด อันเป็นดอกไม้ประจำสถาบัน ปลายดอกชูรับแสงแห่งดวงอาทิตย์ หมายถึงความเข้มแข็ง ความสามัคคีและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งต้องการเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เป็นเลิศในการผลิตบัณฑิตแห่งเทคโนโลยี อันเป็นวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
สีเขียวและเหลือง แทน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ซึ่งรังสรรค์เป็นรูปดองราชพฤกษ์สีเหลืองแซมใบสีเขียว อันเป็นดอกไม้ประจำสถาบัน ซึ่งมีความหมายถึงที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏทุกที่ล้วนตั้งอยู่ในบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรต่างๆ และหมายถึงความดีงามแห่งปราชญ์ของ “คนของราชา ข้าของแผ่น” ที่ประสาทวิชาความรู้ให้กับบัณฑิตนำไปพัฒนาท้องถิ่นได้ตลอดมา
รัศมีสีเทาเข้ม แทนประวัติอันยาวนานของการแข่งขันฟุตบอลประเพณีชิงโล่พระราชทานที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องกลายเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งบัดนี้ล่วงเลยมาเป็นครั้งที่ ๔๓ แล้ว แต่กีฬาฟุตบอลประเพณีนี้จะยังคงอยู่เป็นมิตรภาพและความภาคภูมิใจของสองสถาบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานและมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา สืบไป ออกแบบร่วมกันสองสถาบัน
ผลการแข่งขัน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ราชภัฏ ชนะ | ราชมงคล ชนะ | เสมอ |
|
|
- หมายเหตุ
- วิทยาลัยครูฯ / มรภ. คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
- วิทยาลัยเทคนิคฯ / มทร. คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ม.ราชภัฏนครราชสีมา แถลงความพร้อมการเป็นเจ้าภาพฟุตบอล “ศึกสองราช"[ลิงก์เสีย], สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์, สืบค้นวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554
- ↑ มทร.อีสานชูกีฬาลดภาวะโลกร้อน, คมชัดลึก, 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
- ↑ เกมจบแต่มิตรภาพยืนยาว ศึกสมานฉันท์"พี่น้องสองราช", ข่าวสดรายวัน, 5 มีนาคม พ.ศ. 2553, ปีที่ 19, ฉบับที่ 7036
- ↑ สนุก-สร้างสรรค์ -สามัคคี 44ปีฟุตบอลประเพณีราชมงคล-ราชภัฏ, ข่าวสดรายวัน, 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554, ปีที่ 20, ฉบับที่ 7384
- ↑ ฟุตบอลประเพณี ครั้งที่ 43 “มทร.อีสาน-มรภ.นครราชสีมา” เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ASTVผู้จัดการออนไลน์, 5 กุมภาพันธ์ 2553
https://www.rmuti.ac.th/2019/2020/02/23/news230263/ เก็บถาวร 2020-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เก็บถาวร 2020-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,RMUTI News,23 กุมภาพันธ์ 2563
มทร.อีสาน เปิดศึกดวลแข้ง มรนม. ฟุตบอลประเพณีชิงโล่พระราชทานฯ ครั้งที่ 53 สานสัมพันธ์ “พี่น้องสองราช”